วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

คำสันธาน 接続詞 (せつぞくし)

คำสันธาน คือ คำที่ใช้ในการเชื่อมประโยค 2 ประโยคเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง สละสลวย โดยประโยคทั้ง 2 อาจจะแสดงถึง ความเป็นเหตุเป็นผลกัน ความขัดแย้งกัน การขยายความ การอธิบายใหม่ เป็นต้น ซึ่งในแต่ละภาษาก็มีการแบ่งคำสันธานที่ไม่เหมือนกัน ส่วนคำสันธานในภาษาญี่ปุ่นเองนั้น มีอยู่หลายประเภท และแต่ละประเภทก็มีคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกันมาก ลักษณะประโยคและวิธีการพูดของชาวญี่ปุ่นแตกต่างกับของไทยอย่างมาก จนบางทีก็อาจทำให้ผู้ที่เรียนภาษาญี่ปุ่นไม่สามารถเลือกใช้คำสันธานได้อย่าง ถูกต้องเหมาะสม
คำสันธานแต่ละคำมีวิธีการใช้ที่แตกต่างกันไปตามบริบท เช่น การใช้คำสันธานในภาษาพูดหรือภาษาเขียน ต้องการสื่อสารอย่างเป็นทางการหรือไม่ทางการ และบางครั้งอาจให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงเรียนรู้ให้เข้าใจและสามารถที่จะแยกแยะความแตกต่างของการใช้คำ สันธานแต่ละคำได้ หรือเลือกใช้ให้เหมาะสม จะเป็นประโยชน์ในการเขียนบทความภาษาญี่ปุ่นใหเป็นธรรมชาติ และยังช่วยให้สามารถอ่านบทความต่าง ๆ ได้อย่างเข้าใจมากขึ้น รวมทั้งยังทำให้สามารถเลือกใช้คำสันธานในบทสนทนาได้อย่างถูกต้องอีกด้วย
ผมขอแบ่งกลุ่มสันธาน ตามความเข้าใจของผมเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ
1. กลุ่มสันธานประเภท เป็นเหตุเป็นผล คล้อยตามกัน
2. กลุ่มสันธานประเภท เสริมทับกัน หรือ ขยายความกัน
3. กลุ่มสันธานประเภท ขัดแย้งกัน
4. กลุ่มสันธานประเภท พูดอีกแบบเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายขึ้น
5. กลุ่มสันธานประเภท ตัดบท เปลี่ยนหัวข้อคุย
6. กลุ่มสันธานประเภท เปรียบเทียบ
7. กลุ่มสันธานประเภท อื่นๆ

*** จะหาคำสันธานมาอัพเดทให้อีกครั้ง
คำสันธานประเภท คล้อยตามกัน
そこで だから……….(therefore) ก็เลย
そして………………..แล้ว ดังนั้น แล้วก็
A そしてB……………จะเห็นว่า A กับ B มีลักษณะคล้ายกัน
そのため……………..เพราะเหตุนั้น มักใช้ในภาษาเขียน และประเด็นสำคัญของเรื่องใหญ่กว่า それで
それで………………..ด้วยเหตุนี้
それが……………..เรื่องนั้นนะเหรอ
それで……………..ด้วยเหตุนั้น
そのように……………เพราะฉะนั้น

กลุ่มสันธานประเภท ตัดบท เปลี่ยนหัวข้อคุย
では・それでは・じゃ・じゃあ ใช้ตัดบท เปลี่ยนเรื่อง
ところで……………….ใช้เปลี่ยนเรื่อง

กลุ่มสันธานประเภท พูดอีกแบบเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายขึ้น
つまり…………………อีกนัยหนึ่ง ความหมายเหมือนกันประโยคแรก แต่ประโยคหลังจะเข้าใจง่ายกว่า

กลุ่มสันธานประเภท เสริมทับกัน หรือ ขยายความกัน
それに……………..นอกจากนั้น
ただし………………เพียงแค่ แต่
また………………..ยิ่งไปกว่านั้น (again)
…………………………….- ยิ่งไปกว่านั้น (again)
…………………………….- นอกจากนั้น รวมถึงกรณีเดียวกับ そして
おまけに…………….นอกจากนั้น

กลุ่มสันธานประเภท ขัดแย้งกัน
しかし…………………แต่
でも………………….แต่
が…………………..แต่
けど、けれど、けれども……..แต่
のに…………………ทั้งๆที่
ところが……………..”แต่”แบบมีความรู้สึกประหลาดใจด้วย
とにかく………………..อย่างไรก็ตาม
実際(じっさい)………..ในความเป็นจริงแล้ว

กลุ่มสันธานประเภท อื่นๆ
なんとなく………….ไม่มีเหตุผล เช่น อยู่ๆ ก็เบื่อ (บอกไม่ถูกว่าทำไม)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น