วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

มารยาทของชาวญี่ปุ่น

1. การใช้ภาษาตามระดับความสัมพันธ์
คนญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญต่อกลุ่มและสมาชิกในกลุ่ม โดยจะใช้สถานที่เป็นตัวบ่งบอกคนที่อยู่อาศัยในที่เดียวกันหรือทำงานในที่ เดียวกันนั้นถือว่าเป็นพวกเดียวกัน เรียกว่า(うち、uchi) และสำหรับคนที่อยู่ต่างสถานที่ต่างบริษัท ต่างประเทศจะถือว่าเป็นคนนอกหรือคนอื่น เรียกว่า(そと、soto)
โดยชาวญี่ปุ่นจะใช้ภาษาและการปฎิบัติตนที่แตกต่างไปสำหรับคนที่เป็นคนนอก โดยจะใช้ภาษาที่สุภาพกับผู้อื่นและใช้ภาษาถ่อมตนเมื่อพูดถึงเรื่องของตนเอง ให้กับผู้อื่น แม้ว่าตนเองจะไม่รู้สึกยกย่องคนๆนั้นเลยก็ตามที
ดังนั้นเราสามารถสังเกตุลักษณะความสัมพันธ์ของคนญี่ปุ่นโดยอาศัย วิธีการใช้ภาษาของคนญี่ปุ่นได้ด้วย เช่น ใครอาวุโสกว่าใครหรือสนิทสนมกันแค่ไหนเป็นกลุ่มเดียวกันหรือคนละกลุ่มเป็น ผู้หญิงหรือผู้ชาย การใช้ภาษาในการพูดของคนญี่ปุ่นนั้นเมื่อพูดเรื่องของตนเองรวมไปถึงการกล่าว ถึงสิ่งอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับตนเองแล้วคนญี่ปุ่นจะต้องใช้คำถ่อมตนเมื่อพูด กับคนอื่น และคำยกย่องเพื่อยกย่องคู่สนทนาด้วย
การให้ความสำคัญกับบุคคลอื่นในสังคมเป็นลักษณะเด่นของคนญี่ปุ่น ทำให้คนญี่ปุ่นเป็นคนระมัดระวังและให้ความสำคัญต่อความรู้สึกของผู้อื่น อย่างมากในการใช้ภาษา การแสดงความใส่ใจของคู่สนทนา เช่น การใช้ถ้อยคำและกริยาต่างๆสอดแทรกเพื่อแสดงความสนใจต่อคู่สนทนา หรือพูดประโยคลอยๆค้างไว้เพื่อให้คู่สนทนามีโอกาศได้สอดแทรกสานประโยคให้จบ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้คู่สนทนามีส่วนร่วมในสิ่งที่ตนพูดด้วย หรือการพูดแบบอ้อมค้อมไม่ชี้บ่งบอกอะไรไปตรงๆ หรือละความเอาไว้ให้ผู้สนทนาด้วยคิดเอาเอง และในการสนทนากับคนญี่ปุ่นจะเป็นการเสียมารยาทมากถ้าเราไม่เอ่ยถึงการกระทำ ของผู้นั้นที่ส่งผลดีต่อเราและต้องใช้สำนวนที่รู้สึกสำนึกบุญคุณต่อการกระทำ นั้นๆด้วย เช่นขอบคุณที่ได้สนับสนุนเราอยู่เสมอ หรือ วันก่อนต้องขอขอบคุณมาก (แม้ว่าอาจจะไม่ได้ทำอะไรให้) แต่เป็นมารยาทที่ควรจะพูดตามธรรมเนียมของคนญี่ปุ่น
2. วิธีสำหรับการตอบปฏิเสธของคนญี่ปุ่น
ในการที่จะคบหากัน คนญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญต่อ “ความกลมกลืนกันต่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล” และด้วยเหตุนี้ คนญี่ปุ่นไม่ชอบที่จะทำให้เกิดรอยร้าวในความสัมพันธ์เพราะการปฏิเสธอย่างชัด แจ้ง เช่น เมื่อจะปฏิเสธคำเชิญชวนหรือคำแนะนำ ก็จะเลี่ยงไปตอบด้วยการพูดว่า “ちょっと…” (Chotto) ซึ่งก็คือ “ออกจะ…” แล้วก็ละไว้ในฐานที่เข้าใจว่า “ไม่สะดวก” คำว่า “ちょっと…” (Chotto) ไม่ได้ใช้เฉพาะในการเรียกความสนใจเท่านั้น แต่ยังใช้ในเวลาที่อยากจะปฏิเสธด้วยเป็นสำนวนที่ถูกใช้บ่อยมากแม้แต่ใน เรื่องที่เกี่ยวกับทางธุรกิจ สำนวนอื่นๆที่ใช้บ่อย เช่น ในกรณีที่จะปฏิเสธข้อเจรจาทางธุรกิจกับคู่เจรจา สำนวนที่ใช้บ่อยคือ “けんとう してみます” (kentô shitemimasu) ซึ่งมีความหมายว่า “จะลองพิจารณาดู” แต่จริง ๆ แล้ว มีความหมายว่า “กรุณาอย่าคาดหวังการตอบรับ” รวมอยู่ด้วย
3. การโค้ง
วัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่แตกต่างจากบ้านเราที่ใช้การไหว้ หรือ ต่างจากชาวฝรั่งที่ใช้การจับมือ (shake hand) นั่นก็คือการโค้งคำนับ ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “Rei” (れい/เร) หรือ “Ojigi” (/おじぎ/โอจิกิ) ชาวญี่ปุ่นนิยมโค้งในเวลาที่พบกันหรือร่ำลา ประเพณีการโค้งของคนญี่ปุ่นถือว่ามีความซับซ้อนพอสมควร เช่น การโค้งควรจะต่ำเพียงไรและโค้งได้นานเท่าไร หรือต้องโค้งเป็นจำนวนกี่ครั้ง และโค้งในโอกาสอะไร เช่น ผู้อาวุโสก้มให้ลึก แต่ถ้าระดับเท่ากันโค้งพองาม นอกจากโค้งเวลาพบกันหรืออำลาจากกันแล้ว สามารถโค้งเมื่อต้องการขอบคุณ

การโค้งทักทาย (Eshaku/えしゃく/ อิชิคุ) คือ การทักทายกับผู้ที่สนิทแบบเป็นกันเอง วิธีการคือ ก้มตัวทำมุมประมาณ 15 องศา
การโค้งเคารพแบบธรรมดา (Futsuu Rei/ふつう/ ฟุสึยุ) คือ การทักทายกับผู้ที่เรารู้จัก หรือพนักงานขายกับลูกค้า วิธีการคือ ก้มตัวประมาณ 30 องศา
การโค้งเคารพแบบนอบน้อม (Saikei Rei/さつうれい/ ซาอิเครอิ เรอิ) คือ การให้ความเคารพกับผู้ใหญ่ ผู้ที่มีอายุมากกว่า หรือเจ้านายที่มีตำแหน่งสูง วิธีการคือ ก้มตัวประมาร 45 องศา กับแนวเส้นตรง
4. รับเชิญไปบ้านคนญี่ปุ่น
ชาวญี่ปุ่นมีความคิดที่ว่าบ้านของตนเองคับแคบ ดังนั้นเมื่อต้องการพบใครก็มักจะนัดตามร้านอาหาร ร้านกาแฟ เป็นต้น แต่ถ้าคุณได้รับเชิญไปบ้านจากคนญี่ปุ่น จะถือว่าเป็นการให้เกียรติอย่างมาก ดังนั้นผู้ถูกเชิญจึงควรนำของฝากเล็กๆน้อยๆติดไม้ติดมือไปฝากเจ้าของบ้าน ด้วย โดยอาจจะเป็นผลไม้ ดอกไม้ หรือ ขนมต่างๆ เพื่อแสดงความมีน้ำใจ สำหรับการเชิญไปรับประทานอาหารอาจจะนำเหล้าไปเป็นของฝากก็ได้ เพราะคนญี่ปุ่นไม่ว่าจะชายหรือหญิง ก็นิยมดื่มสุรา
อย่าพยายามจะไปเยี่ยมบ้านคนอื่น ถ้าหากคุณไม่ได้รับเชิญไป เพราะสำหรับคนญี่ปุ่นแล้วถือว่าไม่ค่อยสุภาพและจะทำให้เจ้าของบ้านรู้สึกอึด อัดอีกด้วย และหลังจากที่ไปเยียนบ้านเขาแล้ว ตามธรรมเนียมของญี่ปุ่นควรที่จะโทรศัพท์หรือส่งจดหมายไปขอบคุณ และเมื่อได้พบกันครั้งถัดไป ก็อย่าลืมที่จะขอบคุณเคยได้เชิญเราไปที่บ้านด้วย

5. มารยาทในการเยี่ยมบ้านชาวญี่ปุ่น
สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งสำหรับการไปเยี่ยมเยียนบ้านของชาวญี่ปุ่น ก็คือ “เวลา” ควรเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะไปเยี่ยม สำหรับเวลาที่ไม่เหมาะได้แก่ เยี่ยมบ้านตอนเวลาทานอาหาร นอกเสียจากว่าเจ้าของบ้านชวนให้มาทานอาหารกันที่บ้าน สำหรับคนญี่ปุ่นถือว่าการเยี่ยมบ้านคนอื่นตอนเวลาทานอาหารเป็นสิ่งที่เสียมารยาท 
สำหรับตอนที่จะไปเยี่ยมบ้านผู้ใหญ่ ควรจะนำของฝากสักอย่างก็ถือว่าเป็นมารยาทดี ตามปกติแล้วของฝากในกรณีเยี่ยมบ้านคนอื่น ควรเป็นขนมแบบที่ใส่ในแพคเกจสวยๆ(ไม่ใช่ที่ใส่ในถุงพลาสติกธรรมดา) หรือพวกขนมเค้ก สำหรับประเทศญี่ปุ่นที่เป็นประเทศที่นิยมนำของฝากติดมือเวลาไปเยี่ยมบ้านผู้ อื่น ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยว่าเราจะเห็นร้านขายขนมหรือของฝากต่างๆ ที่มีแพคเกจที่สวยงามอยู่มากมาย ด้วยวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นมักจะมีโอกาสได้ใช้กันบ่อย ขนมที่แพคเกจสวยงามแบบนี้ไม่ใช่เป็นขนมสำหรับผู้ซื้อเพื่อกินเอง แต่สำหรับของฝากในการเยี่ยมคนอื่นมากกว่า


6. รองเท้า
คนญี่ปุ่นถือเรื่องเท้าคล้ายคลึงกับคนไทย เช่น ห้ามสวมรองเท้าในบ้าน วัด โรงแรมแบบญี่ปุ่น (りょかん/Ryokan ) รวมไปถึงพิพิธภัณฑ์ ร้านหรือห้องอาหารบางแห่ง โดยปรกติแล้วจะมีการเตรียมรองเท้าแตะไว้ให้ก่อนเข้าบริเวณที่ห้ามสวมรองเท้า แต่ถ้าเป็นพื้นที่ปูเสื่อตะตะมิ แม้รองเท้าแตะก็ต้องถอดก่อนขึ้นไปนั่งหรือเดิน ให้ถอดรองเท้าไว้ที่เกงคัง (บริเวณหน้าบ้าน สำหรับไว้ถอดรองเท้าก่อนขึ้นบ้าน) โดยให้ปลายรองเท้าหันไปทางด้านประตูเท่านั้น นอกจากนี้เวลาเข้าห้องน้ำจะมีรองเท้าแตะที่จัดไว้ใช้เฉพาะสำหรับห้องน้ำ
7. มารยาทบนโต๊ะอาหาร
การเรียนต่อญี่ปุ่นนั้น นักเรียนอาจมีโอกาสได้เข้าร่วมรับประทานอาหารกับชาวญี่ปุ่น ดังนั้นการเรียนรู้มารยาทบนโต๊ะอาหารนั้น จึงเป็นสิ่งที่ควรศึกษาไว้เป็นความรู้ที่ติดตัวไปด้วย
ก่อนเริ่มรับประทานอาหารทุกครั้ง นักเรียนจะต้องพูดคำว่า いただきます Itadakimasu และพูดคำว่า ごちそうさまでした Gochisousama deshita เมื่อรับประทานอาหารอิ่มแล้ว การพูดคำนี้ถือว่าเป็นธรรมเนียมที่ต้องทำและมีความหมายในเชิงขอบคุณ ซึ่งตามปกติชาวญี่ปุ่นถือว่าการเริ่มทานข้าวก่อนคนอื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตจาก เจ้าบ้านเป็นสิ่งที่เสียมารยาท
ขณะรับประทานอาหาร คนญี่ปุ่นมักจะพูดคำว่า Oishii ซึ่งแปลว่าอร่อย เพื่อชมผู้ปรุงอาหารและถือเป็นการขอบคุณด้วย
ตามมารยาทของคนญี่ปุ่นแล้ว ควรจะทานข้าวให้หมดชาม ถ้าเป็นอาหารชุดก็ควรจะทานทุกอย่าง ยกเว้นแต่ว่าจะทานไม่ไหวแล้วจริง ๆ และก่อนเปิดตู้เย็นเพื่อหยิบหรือเก็บอะไร ควรจะขออนุญาตจากครอบครัวก่อน
ชาวญี่ปุ่นนั้นแทบทุกบ้านจะใช้ตะเกียบในการรับประทานอาหาร
การปฎิบัติเหล่านี้บนโต๊ะอาหารเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเป็นอย่างยิ่ง
1. การกำตะเกียบเป็นกิริยาที่ไม่ดี
2. การจับตะเกียบและถ้วยข้าวด้วยมือเดียวกัน



3. “ โยเซบาฉิ” (よせばし)การเลื่อนชามไปข้างหน้าด้วยตะเกียบ (จะโยกย้ายอะไรก็ใช้มือให้สุภาพเข้าไว้)
4. “ ซาชิบาฉิ” (さしばし)การเสียบอาหารด้วยตะเกียบ
5. “ ซากุริบาฉิ” การเลือกอาหารที่มีรสอร่อย หรือน่ากินในจานอาหาร (อย่าลืมว่าใครๆก็อยากรับประทานของอร่อยในจานเหมือนกัน อย่าเผลอเลือกรับประทานคนเดียวจนหมด)
6. “ มาโยอิบาฉิ”(まよいばし) การถือตะเกียบจดๆจ้องๆไตร่ตรองถึงสิ่งที่จะรับประทานอาหารบนโต๊ะอาหาร (หรือพูดง่ายๆว่าก็เล็งรับประทานอะไรไว้ก็มุ่งหนีบรับประทานซะดีกว่า เลือกไปเลือกมาดูเหมือนจะทิ้งของที่ไม่อร่อยให้คนอื่นรับประทาน ชาวญี่ปุ่นเป็นอะไรที่เก็บความรู้สึก ถึงอยากรับประทานก็ต้องมีมารยาทไว้ก่อน)
7. การเสียบตะเกียบไว้บนข้าวก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรปฎิบัติ
8. ห้ามหยิบตะเกียบจนกว่าผู้อาวุโสคนใดคนหนึ่งจะหยิบขึ้นมาก่อน
9. ห้ามขูดเม็ดข้าวจากตะเกียบ
10. ห้ามทานอาหารจากซุปโดยไม่ยกชามซุปขึ้นจากถาด
11. ห้ามตักอาหารจากจานซึ่งอยู่ไกลออกไปอีกฟากหนึ่งโดยที่ไม่ยกจานขึ้นมา
12. ห้ามยกจานทางขวามือด้วยมือซ้าย หรือยกจานทางซ้ายมือด้วยมือขวา
13. ห้ามหยิบอาหารที่มีซอสเหลวๆวางบนข้าว หรือทานข้าวราดน้ำซอส
14. ห้ามหยิบและกัดอาหารซึ่งไม่อาจจะทานได้ในคำเดียว ขอให้แบ่งเป็นชิ้นเล็กๆด้วยตะเกียบ



8. การแชร์กันออกค่าอาหาร
คนญี่ปุ่นก็จะมีการแชร์กันออกค่าใช้จ่ายในการรับประทาน อาหารเช่นกันเหมือนกับคนอเมริกาเช่นกัน (แต่ทำไมไม่เรียก Japanese share บ้างนะ)
9. การส่งเสียงดัง
ในเมืองใหญ่บางคนมีความรู้สึกไวโดยเฉพาะต่อเสียงต่างๆ ที่เกิด ขึ้นในชีวิตประจำวันและไม่ใจกว้างยอมรับแม้แต่เสียงที่เด็กทำขึ้นจึงขอให้ ระมัดระวังเป็นพิเศษ ถ้าอาศัยอยู่ที่บ้านพักรวมอย่างเช่น อพาร์ตเมนท์ โดยทั่วไปหลัง 22:00 น. พยายามอย่าส่งเสียงดังให้คนข้าง บ้านได้ยิน บางคนทำงานตอนกลางคืน และนอนพัก ตอนกลางวัน จึงเป็นเวลาสำคัญสำหรับพวกเขา มีบางครั้งสำหรับตัวเองเสียงอาจไม่ดัง แต่โครงสร้างอาคารอาจทำให้เกิดเสียงดังรบกวนเพื่อนบ้านใกล้เคียงได้ โดยเฉพาะ การ ใช้เครื่องดูดฝุ่น เครื่องซักผ้า การเข้าออก การเปิดปิดประตูในตอนกลางคืน ขอให้ระวังเป็นพิเศษ ถ้ามีปัญหาเรื่องเสียงรบกวน กรณีบ้านพักรวม แจ้งกับ เจ้าหน้าที่อสังหาริมทรัพย์ที่ทำสัญญาเช่า นอกเหนือจากนี้ปรึกษากับเจ้าหน้าที่สมาคม ปกครองตนเอง (จิชิคะอิ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น