วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

การ์ตูนญี่ปุ่น

1. โดราเอมอน
แน่นอนว่าอันดับ 1 คงเป็นใครไปไม่ได้นอกจากเจ้าหุ่นยนต์แมวไม่มีหูตัวนี้ เพราะเขาเป็นตัวแทนความฝันและจินตนาการไร้ขีดจำกัดเลยก็ว่าได้ เมื่อคุณอยู่กับโดราเอมอนแล้ว ไม่ว่าอะไรก็เป็นไปได้ทั้งนั้น จากการที่ของวิเศษในกระเป๋าจะทำให้ทุกอย่างง่ายดายทันตาเห็น และเขาก็ไม่เคยเอามันไปใช้หาประโยชน์ให้ตัวเองเลย เพียงแต่ใช้เพื่อดูแลโนบิตะเพื่อนที่ดีที่สุดของเขาเท่านั้น


2. คิตตี้
ตัวการ์ตูนนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเอาใจเด็กผู้หญิงโดยเฉพาะ ด้วยหน้าตาแบบลูกแมวน้อยน่ารักบ้องแบ๊ว พร้อมสีชมพูหวานแหวว ทำให้ผลิตภัณฑ์ของเจ้าแมวตัวนี้ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า แม้แต่สาว ๆ ที่โตแล้วก็ยังอดใจซื้อมาติดเอาไว้ไม่ได้ และด้วยความที่เป็นเแมวเนื้อหอมแบบนี้เอง มันจึงถือเป็นสัญลักษณ์ของบริษัท Sanrio ไปเรียบร้อย


3.ปิคาจู - Pokemon
 แวบแรกที่เห็นใคร ๆ ก็ต้องคิดว่าเจ้าหนูสายฟ้านี่น่ารักทั้งนั้น ด้วยตัวสั้นป้อมเหลืองอ๋อยพร้อมแก้มยุ้ยน่าหยิกสีแดงแปร๊ด แม้ความประทับใจแรกจะทำให้เรารู้สึกหมั่นไส้มันนิด ๆ ที่ดื้อไม่ยอมเชื่อฟังซาโตชิก็เถอะ แต่พอสนิทกันขึ้นมาแล้ว ปิคาจูก็สู้เคียงบ่าเคียงไหล่เป็นคู่หูคู่ซี้ที่ขาดกันไม่ได้ เพราะแบบนี้ล่ะมั้ง มันถึงเป็นตัวโปรดของซาโตชิรวมถึงแฟน ๆ ด้วย 


4.  ชินจัง - ชินจังจอมแก่น

          ดู ๆ แล้วชินจังก็จอมแก่นสมกับชื่อเรื่องจริง ๆ จนบางครั้งความทะลึ่งทะเล้นของเขายังทำให้เราอดคิดไม่ได้ว่าหากตัวเองต้องมา เป็นมิซาเอะแม่ของเขาจะปวดหัวสักแค่ไหนกัน แต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้หรอกว่าเพราะความกวนประสาทของชินจังนี่แหละ ที่ทำให้เราติดเรื่องนี้งอมแงมจนต้องมานั่งหัวเราะอยู่หน้าจอทีวีแทบทุกวัน
5.อาราเล่ - ดร.สลัมป์กับหนูน้อยอาราเล่

          โนริมากิ อาราเล่ หรือที่คนรู้จักกันดีในนามหนูน้อยอาราเล่ เธอคือหุ่นยนต์ที่ ดร.เซมเบ้ สร้างขึ้น ที่แม้จะเห็นเธอร่าเริงวิ่งเล่นกับกัตจังเพื่อนคู่หูได้ทั้งวัน แต่ที่จริงแล้วเธอมีพละกำลังมหาศาลอย่างไม่น่าเชื่อเลยล่ะ โดยเธอสามารถยกของหนัก ๆ ได้อย่างสบาย ส่วนคำพูดติดปากที่ทุกคนรู้จักกันดีก็คือ "โอ๊ะ โยะ โหย" ที่ได้ยินเป็นประจำนั่นแหละ




สถานที่ท่องเที่ยว

1. พระราชวังอิมพีเรียล

พระราชวังอิมพีเรียล แต่เดิมมีชื่อว่า พระราชวังเอะโดะ อีก หนึ่งสถานท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่ที่เมืองโตเกียว เพราะเป็นสถานที่ประทับของสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งราชวงศ์เมจิ แห่งประเทศญี่ปุ่น เดิมที่นี่เป็นหมู่บ้านประมงเล็กที่ชื่อ เอะโดะ ที่ถูกตั้งเป็นฐานที่มั่น รวมทั้งถูกตั้งเป็นศูนย์กลางของรัฐบาลทหาร ต่อมาได้ขยายเมืองให้ใหญ่ขึ้น จนมีประชากรและพื้นที่เมืองขนาดใหญ่มากขึ้น หลังจากนั้นเข้าสู่ยุคปฏิรูปเมจิ การล้มล้างการปกครองแบบโชกุนลง จักรพรรดิเมจิจึงย้ายเมืองหลวงมาที่เอะโดะ และเปลี่ยนชื่อเมืองเป็นโตเกียวในปัจจุบัน ที่นี่จึงเป็นศูนย์กลางทางการปกครองและวัฒนธรรมของประเทศ และถูกเปลี่ยนให้เป็นพระราชวังในเวลาต่อมา มีชื่อเรียกว่า พระราชวังอิมพิเรียล ในปัจจุบัน

           ซึ่ง ภายในล้อมรอบด้วยคูเมือง ประตูทางเข้าที่งดงาม และป้อมปราการเก่าแก่ตั้งอยู่ห่างกันเป็นช่วง ๆ ทางเข้าหลักอยู่ใกล้กับนิจูบะชิ สะพานสองชั้น และจะเปิดให้คนภายนอกเข้าชมตามวาระพิเศษต่าง ๆ สวนตะวันออกฮิงะชิ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ตั้งของหอคอยใหญ่ ภายในสวนงดงามไปด้วยดอกไม้หลากหลายพันธุ์ และจะผลิบานตามแต่ฤดูกาล เหมาะสำหรับทุกคนที่ต้องการสถานที่พักผ่อนในอุดมคติ

2. โตเกียว ทาวเวอร์

โตเกียว ทาวเวอร์ หอคอย สื่อสารขนาดใหญ่ที่สวยงามมาก ตั้งอยู่ในเขตมินะโตะ กรุงโตเกียว เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเพราะใน 1 ปี มีผู้ร่วมเข้าชมถึง 2 ล้าน 5 คน อีกทั้งยังเป็นเหมือนสัญลักษณ์เพื่อแสดงถึงอำนาจและอิทธิพลทางเศรษฐกิจของ โลก เป็นที่ถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ วิทยุ ซึ่งที่นี่ได้แรงบันดาลใจมาจากหอคอยสูงในปารีส สร้างในสไตล์สถาปัตยกรรมโบราณแบบญี่ปุ่น ทั้งนี้ โตเกียว ทาวเวอร์ จะเปิดทำการตั้งแต่ 09.00-20.00 น. โดยไม่มีวันหยุด ใครที่มาเที่ยวญี่ปุ่นแล้วไม่มาเยือนที่นี่ถือว่ามาไม่ถึงญี่ปุ่นเลย
3. ภูเขาฟูจิ
 
ภูเขาฟูจิ เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในญี่ปุ่นและอาจกล่าวได้ว่าเป็น ภูเขาที่สวยที่สุดในโลก มีความสูงถึง 3,776 เมตร ตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดยะมะนะชิและชิซุโอะกะ และสามารถมองเห็นได้จากโตเกียวและโยโกฮาม่าในวันที่ท้องฟ้าปลอดโปร่ง วิธีที่จะได้เห็นภูเขาฟูจิที่ง่ายที่สุด คือ นั่งชมจากรถไฟสายโทไกโดที่วิ่งระหว่างเมืองโตเกียวและโอซาก้า ถ้าคุณนั่งชินกันเซ็นจากโตเกียวที่มุ่งหน้าไปยังนาโงย่า เกียวโต และโอซาก้า ช่วงที่จะได้เห็นภูเขาฟูจิ คือ ช่วงสถานีชิน-ฟูจิ หรือประมาณ 40-45 นาที หลังจากออกจากโตเกียว ซึ่งจะมองเห็นได้ทางด้านขวามือของรถไฟ แต่สำหรับผู้ที่อยากชมภูเขาฟูจิอย่างเต็มอิ่ม และแวดล้อมด้วยธรรมชาติที่งดงามขอเชิญที่ ทะเลสาบทั้งห้า (Fuji Five Lake or Fujigoko) หรือที่ ฮะโกะเนะ ซึ่งเป็นรีสอร์ทบ่อน้ำพุร้อนและเป็นหนึ่งใน อุทยานแห่งชาติ Fuji-Hakone-Izu
               นอกจากนี้ รอบ ๆ ภูเขาฟูจิเต็มไปด้วยธรรมชาติอันงดงาม และเป็น อุทยานแห่งชาติฟูจิฮะโกะเนะอิซุ มีทะเลสาบ 5 แห่ง ได้แก่ ยะมะนะกะโกะ คะวะงุจิโกะ โมโตสุโกะ โชจิโกะ ไซโกะ และมีออนเซนหลายแห่ง ได้แก่ ยะมะนะกะโกะ คะวะงุจิโกะ โอชิโนะโกะ ฯลฯ นับได้ว่า ภูเขาฟูจิ มีอิทธิพลต่อศิลปวัฒนธรรมของญี่ปุ่นมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีชื่อภูเขาปรากฏอยู่ในบทกลอนญี่ปุ่นหรือภาพพิมพ์ญี่ปุ่น และทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นชื่อบริษัท ชื่อสินค้า และอื่น ๆ อีกมากมาย ล้วนตั้งชื่อว่า ฟูจิ เรียกว่าภูเขาฟูจินี้เป็นหัวใจของญี่ปุ่นก็ว่าได้
 
4. ช้อปปิ้งย่านสุดฮิตที่ย่านชินจูกุ ฮาราจูกุ โอไดบะ
 
มื่อมาเที่ยวที่ญี่ปุ่น อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ ก็คือ การช้อปปิ้ง ซึ่งที่ญี่ปุ่นก็มีแหล่งช้อปที่หลายหลาย แต่ที่ไม่ควรพลาดเลย คือ ย่านชินจุกุ (Shinjuku) แหล่ง ท่องเที่ยวทันสมัยฝั่งตะวันตกของโตเกียว นับเป็นแหล่งช้อปปิ้งและสถานบันเทิงยามค่ำคืนยอดนิยมที่มีชื่อเสียง โดยยามกลางวันสามารถแวะชมสวนสาธารณะชินจุกุเกียวเอ็นที่เงียบสงบ, ย่านชิบุยะ (Shibuya) เป็นศูนย์กลางแฟชั่นและวัฒนธรรมสมัยใหม่ของวัยรุ่น ใกล้กับ ศาลเจ้าเมจิ ที่เงียบสงบ ติดต่อกันเป็นแหล่งช้อปปิ้งยอดนิยมและสวรรค์ของคนรุ่นใหม่ คือ ย่านฮาราจูกุ และ ย่านโอไดบะ ที่ สร้างขึ้นจากการถมทะเลในอ่าวโตเกียว เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของเหล่านักท่องเที่ยวรุ่นใหม่ เพราะที่นี่มีทั้งแหล่งบันเทิงขนาดใหญ่ ชิงช้าสวรรค์ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ที่เป็นสัญลักษณ์ของเรนโบว์ ทาวน์ ที่เหล่าคู่รักวัยรุ่นนิยมขึ้นชิงช้าชมวิวทิวทัศน์ยามค่ำคืนที่สวยงาม
  

ชุดประจำชาติ

หากพูดถึงประเทศญี่ปุ่นแล้ว สัญลักษณ์การแต่งกายที่ชาวโลกรู้จักกันดีคือชุดกิโมโนซึ่งเป็นชุดประจำชาติของประเทศญี่ปุ่น กิโมโน มีต้นกำเนิดมาจากโรงงานทอผ้านอกกำแพงเมือง ในสมัยเอโดะ แล้วได้มีการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการมาทีละน้อย ไม่ว่าจะเป็นขนาด และสีสันของชุดที่สวมภายในโดยพวกขุนนางชั้นสูงสมัยไฮอัน
     คำว่า กิโมโน (kimono) ถ้าแปลตามตัวแล้วหมายถึง เสื้อผ้า ถือได้ว่าเป็นชุดประจำชาติของญี่ปุ่น สามารถสวมใส่ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง มีลักษณะพิเศษตรงที่ชายเสื้อจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และมีผ้าแพรพันสะเอว (obi) ต่างกับชุดที่เป็นเสื้อผ้าของตะวันตก (yofuku) อย่างชัดเจน

ลักษณะของกิโมโน
    กิโมโนประกอบด้วยเสื้อนางางิ (長着) ซึ่งมีลักษณะเป็นคลุมขนาดยาวที่มีแขนเสื้อที่มีความกว้างมาก และสายโอบิ (帯) ซึ่งใช้รัดเสื้อคลุมนี้ให้อยู่คงที่ ชุดกิโมโนทั้งของหญิงและชายเมื่อใส่แล้วจะพรางรูปของผู้สวมใส่ไม่ให้เห็นสัดส่วนที่แท้จริง ชุดกิโมโนของผู้หญิงโสดเป็นกิโมโนแขนยาว ลวดลายที่นิยมคือลายดอกซากุระ กิโมโนของผู้หญิงแต่งงานแล้วจะเป็นกิโมโนแขนสั้นสีไม่ฉูดฉาดมาก



วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

มารยาทของชาวญี่ปุ่น

1. การใช้ภาษาตามระดับความสัมพันธ์
คนญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญต่อกลุ่มและสมาชิกในกลุ่ม โดยจะใช้สถานที่เป็นตัวบ่งบอกคนที่อยู่อาศัยในที่เดียวกันหรือทำงานในที่ เดียวกันนั้นถือว่าเป็นพวกเดียวกัน เรียกว่า(うち、uchi) และสำหรับคนที่อยู่ต่างสถานที่ต่างบริษัท ต่างประเทศจะถือว่าเป็นคนนอกหรือคนอื่น เรียกว่า(そと、soto)
โดยชาวญี่ปุ่นจะใช้ภาษาและการปฎิบัติตนที่แตกต่างไปสำหรับคนที่เป็นคนนอก โดยจะใช้ภาษาที่สุภาพกับผู้อื่นและใช้ภาษาถ่อมตนเมื่อพูดถึงเรื่องของตนเอง ให้กับผู้อื่น แม้ว่าตนเองจะไม่รู้สึกยกย่องคนๆนั้นเลยก็ตามที
ดังนั้นเราสามารถสังเกตุลักษณะความสัมพันธ์ของคนญี่ปุ่นโดยอาศัย วิธีการใช้ภาษาของคนญี่ปุ่นได้ด้วย เช่น ใครอาวุโสกว่าใครหรือสนิทสนมกันแค่ไหนเป็นกลุ่มเดียวกันหรือคนละกลุ่มเป็น ผู้หญิงหรือผู้ชาย การใช้ภาษาในการพูดของคนญี่ปุ่นนั้นเมื่อพูดเรื่องของตนเองรวมไปถึงการกล่าว ถึงสิ่งอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับตนเองแล้วคนญี่ปุ่นจะต้องใช้คำถ่อมตนเมื่อพูด กับคนอื่น และคำยกย่องเพื่อยกย่องคู่สนทนาด้วย
การให้ความสำคัญกับบุคคลอื่นในสังคมเป็นลักษณะเด่นของคนญี่ปุ่น ทำให้คนญี่ปุ่นเป็นคนระมัดระวังและให้ความสำคัญต่อความรู้สึกของผู้อื่น อย่างมากในการใช้ภาษา การแสดงความใส่ใจของคู่สนทนา เช่น การใช้ถ้อยคำและกริยาต่างๆสอดแทรกเพื่อแสดงความสนใจต่อคู่สนทนา หรือพูดประโยคลอยๆค้างไว้เพื่อให้คู่สนทนามีโอกาศได้สอดแทรกสานประโยคให้จบ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้คู่สนทนามีส่วนร่วมในสิ่งที่ตนพูดด้วย หรือการพูดแบบอ้อมค้อมไม่ชี้บ่งบอกอะไรไปตรงๆ หรือละความเอาไว้ให้ผู้สนทนาด้วยคิดเอาเอง และในการสนทนากับคนญี่ปุ่นจะเป็นการเสียมารยาทมากถ้าเราไม่เอ่ยถึงการกระทำ ของผู้นั้นที่ส่งผลดีต่อเราและต้องใช้สำนวนที่รู้สึกสำนึกบุญคุณต่อการกระทำ นั้นๆด้วย เช่นขอบคุณที่ได้สนับสนุนเราอยู่เสมอ หรือ วันก่อนต้องขอขอบคุณมาก (แม้ว่าอาจจะไม่ได้ทำอะไรให้) แต่เป็นมารยาทที่ควรจะพูดตามธรรมเนียมของคนญี่ปุ่น
2. วิธีสำหรับการตอบปฏิเสธของคนญี่ปุ่น
ในการที่จะคบหากัน คนญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญต่อ “ความกลมกลืนกันต่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล” และด้วยเหตุนี้ คนญี่ปุ่นไม่ชอบที่จะทำให้เกิดรอยร้าวในความสัมพันธ์เพราะการปฏิเสธอย่างชัด แจ้ง เช่น เมื่อจะปฏิเสธคำเชิญชวนหรือคำแนะนำ ก็จะเลี่ยงไปตอบด้วยการพูดว่า “ちょっと…” (Chotto) ซึ่งก็คือ “ออกจะ…” แล้วก็ละไว้ในฐานที่เข้าใจว่า “ไม่สะดวก” คำว่า “ちょっと…” (Chotto) ไม่ได้ใช้เฉพาะในการเรียกความสนใจเท่านั้น แต่ยังใช้ในเวลาที่อยากจะปฏิเสธด้วยเป็นสำนวนที่ถูกใช้บ่อยมากแม้แต่ใน เรื่องที่เกี่ยวกับทางธุรกิจ สำนวนอื่นๆที่ใช้บ่อย เช่น ในกรณีที่จะปฏิเสธข้อเจรจาทางธุรกิจกับคู่เจรจา สำนวนที่ใช้บ่อยคือ “けんとう してみます” (kentô shitemimasu) ซึ่งมีความหมายว่า “จะลองพิจารณาดู” แต่จริง ๆ แล้ว มีความหมายว่า “กรุณาอย่าคาดหวังการตอบรับ” รวมอยู่ด้วย
3. การโค้ง
วัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่แตกต่างจากบ้านเราที่ใช้การไหว้ หรือ ต่างจากชาวฝรั่งที่ใช้การจับมือ (shake hand) นั่นก็คือการโค้งคำนับ ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “Rei” (れい/เร) หรือ “Ojigi” (/おじぎ/โอจิกิ) ชาวญี่ปุ่นนิยมโค้งในเวลาที่พบกันหรือร่ำลา ประเพณีการโค้งของคนญี่ปุ่นถือว่ามีความซับซ้อนพอสมควร เช่น การโค้งควรจะต่ำเพียงไรและโค้งได้นานเท่าไร หรือต้องโค้งเป็นจำนวนกี่ครั้ง และโค้งในโอกาสอะไร เช่น ผู้อาวุโสก้มให้ลึก แต่ถ้าระดับเท่ากันโค้งพองาม นอกจากโค้งเวลาพบกันหรืออำลาจากกันแล้ว สามารถโค้งเมื่อต้องการขอบคุณ

การโค้งทักทาย (Eshaku/えしゃく/ อิชิคุ) คือ การทักทายกับผู้ที่สนิทแบบเป็นกันเอง วิธีการคือ ก้มตัวทำมุมประมาณ 15 องศา
การโค้งเคารพแบบธรรมดา (Futsuu Rei/ふつう/ ฟุสึยุ) คือ การทักทายกับผู้ที่เรารู้จัก หรือพนักงานขายกับลูกค้า วิธีการคือ ก้มตัวประมาณ 30 องศา
การโค้งเคารพแบบนอบน้อม (Saikei Rei/さつうれい/ ซาอิเครอิ เรอิ) คือ การให้ความเคารพกับผู้ใหญ่ ผู้ที่มีอายุมากกว่า หรือเจ้านายที่มีตำแหน่งสูง วิธีการคือ ก้มตัวประมาร 45 องศา กับแนวเส้นตรง
4. รับเชิญไปบ้านคนญี่ปุ่น
ชาวญี่ปุ่นมีความคิดที่ว่าบ้านของตนเองคับแคบ ดังนั้นเมื่อต้องการพบใครก็มักจะนัดตามร้านอาหาร ร้านกาแฟ เป็นต้น แต่ถ้าคุณได้รับเชิญไปบ้านจากคนญี่ปุ่น จะถือว่าเป็นการให้เกียรติอย่างมาก ดังนั้นผู้ถูกเชิญจึงควรนำของฝากเล็กๆน้อยๆติดไม้ติดมือไปฝากเจ้าของบ้าน ด้วย โดยอาจจะเป็นผลไม้ ดอกไม้ หรือ ขนมต่างๆ เพื่อแสดงความมีน้ำใจ สำหรับการเชิญไปรับประทานอาหารอาจจะนำเหล้าไปเป็นของฝากก็ได้ เพราะคนญี่ปุ่นไม่ว่าจะชายหรือหญิง ก็นิยมดื่มสุรา
อย่าพยายามจะไปเยี่ยมบ้านคนอื่น ถ้าหากคุณไม่ได้รับเชิญไป เพราะสำหรับคนญี่ปุ่นแล้วถือว่าไม่ค่อยสุภาพและจะทำให้เจ้าของบ้านรู้สึกอึด อัดอีกด้วย และหลังจากที่ไปเยียนบ้านเขาแล้ว ตามธรรมเนียมของญี่ปุ่นควรที่จะโทรศัพท์หรือส่งจดหมายไปขอบคุณ และเมื่อได้พบกันครั้งถัดไป ก็อย่าลืมที่จะขอบคุณเคยได้เชิญเราไปที่บ้านด้วย

5. มารยาทในการเยี่ยมบ้านชาวญี่ปุ่น
สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งสำหรับการไปเยี่ยมเยียนบ้านของชาวญี่ปุ่น ก็คือ “เวลา” ควรเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะไปเยี่ยม สำหรับเวลาที่ไม่เหมาะได้แก่ เยี่ยมบ้านตอนเวลาทานอาหาร นอกเสียจากว่าเจ้าของบ้านชวนให้มาทานอาหารกันที่บ้าน สำหรับคนญี่ปุ่นถือว่าการเยี่ยมบ้านคนอื่นตอนเวลาทานอาหารเป็นสิ่งที่เสียมารยาท 
สำหรับตอนที่จะไปเยี่ยมบ้านผู้ใหญ่ ควรจะนำของฝากสักอย่างก็ถือว่าเป็นมารยาทดี ตามปกติแล้วของฝากในกรณีเยี่ยมบ้านคนอื่น ควรเป็นขนมแบบที่ใส่ในแพคเกจสวยๆ(ไม่ใช่ที่ใส่ในถุงพลาสติกธรรมดา) หรือพวกขนมเค้ก สำหรับประเทศญี่ปุ่นที่เป็นประเทศที่นิยมนำของฝากติดมือเวลาไปเยี่ยมบ้านผู้ อื่น ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยว่าเราจะเห็นร้านขายขนมหรือของฝากต่างๆ ที่มีแพคเกจที่สวยงามอยู่มากมาย ด้วยวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นมักจะมีโอกาสได้ใช้กันบ่อย ขนมที่แพคเกจสวยงามแบบนี้ไม่ใช่เป็นขนมสำหรับผู้ซื้อเพื่อกินเอง แต่สำหรับของฝากในการเยี่ยมคนอื่นมากกว่า


6. รองเท้า
คนญี่ปุ่นถือเรื่องเท้าคล้ายคลึงกับคนไทย เช่น ห้ามสวมรองเท้าในบ้าน วัด โรงแรมแบบญี่ปุ่น (りょかん/Ryokan ) รวมไปถึงพิพิธภัณฑ์ ร้านหรือห้องอาหารบางแห่ง โดยปรกติแล้วจะมีการเตรียมรองเท้าแตะไว้ให้ก่อนเข้าบริเวณที่ห้ามสวมรองเท้า แต่ถ้าเป็นพื้นที่ปูเสื่อตะตะมิ แม้รองเท้าแตะก็ต้องถอดก่อนขึ้นไปนั่งหรือเดิน ให้ถอดรองเท้าไว้ที่เกงคัง (บริเวณหน้าบ้าน สำหรับไว้ถอดรองเท้าก่อนขึ้นบ้าน) โดยให้ปลายรองเท้าหันไปทางด้านประตูเท่านั้น นอกจากนี้เวลาเข้าห้องน้ำจะมีรองเท้าแตะที่จัดไว้ใช้เฉพาะสำหรับห้องน้ำ
7. มารยาทบนโต๊ะอาหาร
การเรียนต่อญี่ปุ่นนั้น นักเรียนอาจมีโอกาสได้เข้าร่วมรับประทานอาหารกับชาวญี่ปุ่น ดังนั้นการเรียนรู้มารยาทบนโต๊ะอาหารนั้น จึงเป็นสิ่งที่ควรศึกษาไว้เป็นความรู้ที่ติดตัวไปด้วย
ก่อนเริ่มรับประทานอาหารทุกครั้ง นักเรียนจะต้องพูดคำว่า いただきます Itadakimasu และพูดคำว่า ごちそうさまでした Gochisousama deshita เมื่อรับประทานอาหารอิ่มแล้ว การพูดคำนี้ถือว่าเป็นธรรมเนียมที่ต้องทำและมีความหมายในเชิงขอบคุณ ซึ่งตามปกติชาวญี่ปุ่นถือว่าการเริ่มทานข้าวก่อนคนอื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตจาก เจ้าบ้านเป็นสิ่งที่เสียมารยาท
ขณะรับประทานอาหาร คนญี่ปุ่นมักจะพูดคำว่า Oishii ซึ่งแปลว่าอร่อย เพื่อชมผู้ปรุงอาหารและถือเป็นการขอบคุณด้วย
ตามมารยาทของคนญี่ปุ่นแล้ว ควรจะทานข้าวให้หมดชาม ถ้าเป็นอาหารชุดก็ควรจะทานทุกอย่าง ยกเว้นแต่ว่าจะทานไม่ไหวแล้วจริง ๆ และก่อนเปิดตู้เย็นเพื่อหยิบหรือเก็บอะไร ควรจะขออนุญาตจากครอบครัวก่อน
ชาวญี่ปุ่นนั้นแทบทุกบ้านจะใช้ตะเกียบในการรับประทานอาหาร
การปฎิบัติเหล่านี้บนโต๊ะอาหารเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเป็นอย่างยิ่ง
1. การกำตะเกียบเป็นกิริยาที่ไม่ดี
2. การจับตะเกียบและถ้วยข้าวด้วยมือเดียวกัน



3. “ โยเซบาฉิ” (よせばし)การเลื่อนชามไปข้างหน้าด้วยตะเกียบ (จะโยกย้ายอะไรก็ใช้มือให้สุภาพเข้าไว้)
4. “ ซาชิบาฉิ” (さしばし)การเสียบอาหารด้วยตะเกียบ
5. “ ซากุริบาฉิ” การเลือกอาหารที่มีรสอร่อย หรือน่ากินในจานอาหาร (อย่าลืมว่าใครๆก็อยากรับประทานของอร่อยในจานเหมือนกัน อย่าเผลอเลือกรับประทานคนเดียวจนหมด)
6. “ มาโยอิบาฉิ”(まよいばし) การถือตะเกียบจดๆจ้องๆไตร่ตรองถึงสิ่งที่จะรับประทานอาหารบนโต๊ะอาหาร (หรือพูดง่ายๆว่าก็เล็งรับประทานอะไรไว้ก็มุ่งหนีบรับประทานซะดีกว่า เลือกไปเลือกมาดูเหมือนจะทิ้งของที่ไม่อร่อยให้คนอื่นรับประทาน ชาวญี่ปุ่นเป็นอะไรที่เก็บความรู้สึก ถึงอยากรับประทานก็ต้องมีมารยาทไว้ก่อน)
7. การเสียบตะเกียบไว้บนข้าวก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรปฎิบัติ
8. ห้ามหยิบตะเกียบจนกว่าผู้อาวุโสคนใดคนหนึ่งจะหยิบขึ้นมาก่อน
9. ห้ามขูดเม็ดข้าวจากตะเกียบ
10. ห้ามทานอาหารจากซุปโดยไม่ยกชามซุปขึ้นจากถาด
11. ห้ามตักอาหารจากจานซึ่งอยู่ไกลออกไปอีกฟากหนึ่งโดยที่ไม่ยกจานขึ้นมา
12. ห้ามยกจานทางขวามือด้วยมือซ้าย หรือยกจานทางซ้ายมือด้วยมือขวา
13. ห้ามหยิบอาหารที่มีซอสเหลวๆวางบนข้าว หรือทานข้าวราดน้ำซอส
14. ห้ามหยิบและกัดอาหารซึ่งไม่อาจจะทานได้ในคำเดียว ขอให้แบ่งเป็นชิ้นเล็กๆด้วยตะเกียบ



8. การแชร์กันออกค่าอาหาร
คนญี่ปุ่นก็จะมีการแชร์กันออกค่าใช้จ่ายในการรับประทาน อาหารเช่นกันเหมือนกับคนอเมริกาเช่นกัน (แต่ทำไมไม่เรียก Japanese share บ้างนะ)
9. การส่งเสียงดัง
ในเมืองใหญ่บางคนมีความรู้สึกไวโดยเฉพาะต่อเสียงต่างๆ ที่เกิด ขึ้นในชีวิตประจำวันและไม่ใจกว้างยอมรับแม้แต่เสียงที่เด็กทำขึ้นจึงขอให้ ระมัดระวังเป็นพิเศษ ถ้าอาศัยอยู่ที่บ้านพักรวมอย่างเช่น อพาร์ตเมนท์ โดยทั่วไปหลัง 22:00 น. พยายามอย่าส่งเสียงดังให้คนข้าง บ้านได้ยิน บางคนทำงานตอนกลางคืน และนอนพัก ตอนกลางวัน จึงเป็นเวลาสำคัญสำหรับพวกเขา มีบางครั้งสำหรับตัวเองเสียงอาจไม่ดัง แต่โครงสร้างอาคารอาจทำให้เกิดเสียงดังรบกวนเพื่อนบ้านใกล้เคียงได้ โดยเฉพาะ การ ใช้เครื่องดูดฝุ่น เครื่องซักผ้า การเข้าออก การเปิดปิดประตูในตอนกลางคืน ขอให้ระวังเป็นพิเศษ ถ้ามีปัญหาเรื่องเสียงรบกวน กรณีบ้านพักรวม แจ้งกับ เจ้าหน้าที่อสังหาริมทรัพย์ที่ทำสัญญาเช่า นอกเหนือจากนี้ปรึกษากับเจ้าหน้าที่สมาคม ปกครองตนเอง (จิชิคะอิ)

คำสันธาน 接続詞 (せつぞくし)

คำสันธาน คือ คำที่ใช้ในการเชื่อมประโยค 2 ประโยคเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง สละสลวย โดยประโยคทั้ง 2 อาจจะแสดงถึง ความเป็นเหตุเป็นผลกัน ความขัดแย้งกัน การขยายความ การอธิบายใหม่ เป็นต้น ซึ่งในแต่ละภาษาก็มีการแบ่งคำสันธานที่ไม่เหมือนกัน ส่วนคำสันธานในภาษาญี่ปุ่นเองนั้น มีอยู่หลายประเภท และแต่ละประเภทก็มีคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกันมาก ลักษณะประโยคและวิธีการพูดของชาวญี่ปุ่นแตกต่างกับของไทยอย่างมาก จนบางทีก็อาจทำให้ผู้ที่เรียนภาษาญี่ปุ่นไม่สามารถเลือกใช้คำสันธานได้อย่าง ถูกต้องเหมาะสม
คำสันธานแต่ละคำมีวิธีการใช้ที่แตกต่างกันไปตามบริบท เช่น การใช้คำสันธานในภาษาพูดหรือภาษาเขียน ต้องการสื่อสารอย่างเป็นทางการหรือไม่ทางการ และบางครั้งอาจให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงเรียนรู้ให้เข้าใจและสามารถที่จะแยกแยะความแตกต่างของการใช้คำ สันธานแต่ละคำได้ หรือเลือกใช้ให้เหมาะสม จะเป็นประโยชน์ในการเขียนบทความภาษาญี่ปุ่นใหเป็นธรรมชาติ และยังช่วยให้สามารถอ่านบทความต่าง ๆ ได้อย่างเข้าใจมากขึ้น รวมทั้งยังทำให้สามารถเลือกใช้คำสันธานในบทสนทนาได้อย่างถูกต้องอีกด้วย
ผมขอแบ่งกลุ่มสันธาน ตามความเข้าใจของผมเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ
1. กลุ่มสันธานประเภท เป็นเหตุเป็นผล คล้อยตามกัน
2. กลุ่มสันธานประเภท เสริมทับกัน หรือ ขยายความกัน
3. กลุ่มสันธานประเภท ขัดแย้งกัน
4. กลุ่มสันธานประเภท พูดอีกแบบเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายขึ้น
5. กลุ่มสันธานประเภท ตัดบท เปลี่ยนหัวข้อคุย
6. กลุ่มสันธานประเภท เปรียบเทียบ
7. กลุ่มสันธานประเภท อื่นๆ

*** จะหาคำสันธานมาอัพเดทให้อีกครั้ง
คำสันธานประเภท คล้อยตามกัน
そこで だから……….(therefore) ก็เลย
そして………………..แล้ว ดังนั้น แล้วก็
A そしてB……………จะเห็นว่า A กับ B มีลักษณะคล้ายกัน
そのため……………..เพราะเหตุนั้น มักใช้ในภาษาเขียน และประเด็นสำคัญของเรื่องใหญ่กว่า それで
それで………………..ด้วยเหตุนี้
それが……………..เรื่องนั้นนะเหรอ
それで……………..ด้วยเหตุนั้น
そのように……………เพราะฉะนั้น

กลุ่มสันธานประเภท ตัดบท เปลี่ยนหัวข้อคุย
では・それでは・じゃ・じゃあ ใช้ตัดบท เปลี่ยนเรื่อง
ところで……………….ใช้เปลี่ยนเรื่อง

กลุ่มสันธานประเภท พูดอีกแบบเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายขึ้น
つまり…………………อีกนัยหนึ่ง ความหมายเหมือนกันประโยคแรก แต่ประโยคหลังจะเข้าใจง่ายกว่า

กลุ่มสันธานประเภท เสริมทับกัน หรือ ขยายความกัน
それに……………..นอกจากนั้น
ただし………………เพียงแค่ แต่
また………………..ยิ่งไปกว่านั้น (again)
…………………………….- ยิ่งไปกว่านั้น (again)
…………………………….- นอกจากนั้น รวมถึงกรณีเดียวกับ そして
おまけに…………….นอกจากนั้น

กลุ่มสันธานประเภท ขัดแย้งกัน
しかし…………………แต่
でも………………….แต่
が…………………..แต่
けど、けれど、けれども……..แต่
のに…………………ทั้งๆที่
ところが……………..”แต่”แบบมีความรู้สึกประหลาดใจด้วย
とにかく………………..อย่างไรก็ตาม
実際(じっさい)………..ในความเป็นจริงแล้ว

กลุ่มสันธานประเภท อื่นๆ
なんとなく………….ไม่มีเหตุผล เช่น อยู่ๆ ก็เบื่อ (บอกไม่ถูกว่าทำไม)

คำคุณศัพท์ 「けいようし」

ในบทนี้เราจะมาเรียนเรื่องเกี่ยวกับคำคุณศัพท์ Adjective 「けいようし」
ต่อไปผมจะขอเรียกคำคุณศัพท์ว่า adj เพื่อความสะดวกในการเขียนนะครับ
adj ก็คือคำที่ใช้ทำหน้าที่ขยายคำนาม โดยภาษาญี่ปุ่นแบ่ง adj ออกเป็น 2 ชนิดได้แก่
  1. i-adj 、「い」 けいようし อิเคย์โย่วฉิ
  2. na-adj 、「な」 けいようし หนะเคย์โย่วฉิ
adj ทั้ง 2 ประเภทนี้มีรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกันบ้าง โดยปรกติ i-adj ก็จะมักจะลงท้ายด้วยตัวอักษร 「い」 ส่วน na-adj ส่วนใหญ่จะไม่ลงท้ายด้วย 「い」 ยกเว้นไม่กี่คำที่จะลงท้ายด้วย 「い」
ลองมาดู i-adj และ na-adj ที่ใช้โดยทั่วไป

Common I-Adjectives
あたらしい
新しい
new
ใหม่
ふるい
古い
old
เก่า
あたたかい
暖かい
warm
อบอุ่น
すずしい
涼しい
cool
เย็นสบาย
あつい
暑い
hot
(อากาศ)ร้อน
さむい
寒い
cold
หนาว
おいしい delicious
อร่อย
まずい bad tasting
รสชาติแย่
おおきい
大きい
big
ใหญ่
ちいさい
小さい
small
เล็ก
おそい
遅い
late, slow
สาย,ช้า
はやい
早い
early, quick
เร็ว
おもしろい
面白い
interesting, funny
น่าสนใจ น่าสนุก
つまらない boring
น่าเบื่อ
くらい
暗い
dark
มืด
あかるい
明るい
bright
สว่าง
ちかい
近い
near
ใกล้
とおい
遠い
far
ไกล
ながい
長い
long
ยาว
みじかい
短い
short
สั้น
むずかしい
難しい
difficult
ยาก
やさしい
優しい
easy
ง่าย
いい good
ดี
わるい
悪い
bad
แย่ เลว
たかい
高い
tall, expensive
สูง แพง
ひくい
低い
low
เตี้ย
やすい
安い
cheap
(ราคา)ถูก
わかい
若い
young
เยาว์วัย
いそがしい
忙しい
busy
ยุ่ง
うるさい noisy
เสียงดัง หนวกหู
Common Na-Adjectives
いじわる
意地悪
malicious
ชอบกลั่นแกล้ง
しんせつ
親切
kind
ใจดี
きらい
嫌い
distasteful,hate
เกลียด
すき
好き
favorite,like
ชอบ
しずか
静か
quiet
เงียบ
にぎやか lively
คึกครื้น
きけん
危険
dangerous
อันตราย
あんぜん
安全
safe
ปลอดภัย
べんり
便利
convenient
สะดวกสบาย
ふべん
不便
inconvenient
ไม่สะดวก
きれい
きれい
pretty,clean
สวย,สะอาด
げんき
元気
healthy, well
สุขภาพดี
じょうず
上手
skillful
เก่ง
ゆうめい
有名
famous
มีชื่อเสียง
ていねい
丁寧
polite
สุภาพ
しょうじき
正直
honest
ซื่อสัตย์
がんこ
頑固
stubborn
รั้น ดื้อดึง
はで
派手
showy
ฉูดฉาด
ส่วนขยายหน้าคำนาม(modifier)
สำหรับ i-adj เมื่อจะขยายคำนามก็วางไว้ข้างหน้าคำนามได้เลย แต่สำหรับ na-adj จะต้องใส่ な ลงไปด้วยดังตัวอย่าง สำหรับภาษาไทยเวลาแปลส่วนขยายจะอยู่หลังคำนาม แต่สำหรับภาษาอังกฤษจะคล้ายภาษาญี่ปุ่นคืออยู่หน้าคำนาม
I-Adjectives ちいさいいぬ
小さい犬
small dog
สุนัขตัวเล็ก
たかいとけい
高い時計
expensive watch
นาฬิกาแพง
Na-Adjectives ゆうめいながか
有名な画家
famous painter
จิตรกรมีชื่อเสียง
すきなえいが
好きな映画
favorite movie
หนังที่ชอบ
I-Adj ที่ทำหน้าที่เป็นส่วนขยายประธาน (predicate)
i-adj จะมีลักษณะของการผันรูปคล้ายกับคำกริยาคือ มีรูปปฏิเสธ รูปอดีต และ รูปปฏิเสธอดีต และภาษาญี่ปุ่นจะมีทั้งภาษาไม่เป็นทางการ(ภาษากันเอง)และภาษาที่เป็นภาษา สุภาพ ดังนี้
ภาษาไม่เป็นทางการ รูปปฏิเสธปัจจุบัน ตัด ~い เติม ~くない
รูปอดีต ตัด ~い เติม ~かった
รูปปฏิเสธอดีต ตัด ~い เติม ~くなかった
ภาษาสุภาพ ให้ใส่ ~ですตามหลัง i-adj ในรูปธรรมดาได้เลย
มีรูปปฏิเสธสำหรับภาษาสุภาพ
* รูปปฏิเสธ: ตัด ~いเติม~くありません
* รูปปฏิเสธอดีต: ตัด ~いเติม~くありませんでした
สำหรับชาวญี่ปุ่นจะถือว่ารูปปฎิเสธนี้มีความสุภาพกว่าการพูดแบบรูปประโยคบอก เล่าอยู่นิดหน่อย เช่น ถ้าจะพูดว่า "ไปกินข้าวด้วยกันไหม" ชาวญี่ปุ่นมักจะพูดเป็นปฏิเสธ "ไม่ไปกินข้าวด้วยกันเหรอ" และการพูดแบบประโยคข้างหลังก็จะออกแนวสุภาพกว่าแบบข้างหน้าเล็กน้อย (การใช้รูปปฏิเสธมักจะให้ความหมายถึงว่าผู้พูดรู้สึกเกรงใจผู้ฟัง อะไรประมาณนั้น)
เราลองมาดูการผันรูปต่างๆของ "たかい (แพง)"

ภาษาไม่เป็นทางการ ภาษาสุภาพ
รูปปัจจุบัน たか
高い
たかい です
高いです
รูปปฏิเสธปัจจุบัน たかくない
高くない
たかくないです
高くないです
たかくありません
高くありません
รูปอดีต たかかった
高かった
たかかったです
高かったです
รูปปฏิเสธอดีต たかくなかった
高くなかった
たかくなかったです
高くなかったです
たかくありませんでした
高くありませんでした
จะมีข้อยกเว้นสำหรับการใช้ "いい(ดี)" ถ้าจำเป็นต้องผันรูปของ "いい" จะต้องเปลี่ยนรูปเป็น "よい(ดี)" ก่อนแล้วค่อยผัน ตามตัวอย่างดังนี้

ภาษาไม่เป็นทางการ ภาษาสุภาพ
รูปบอกเล่าปัจจุบัน
いい
いいです
いいです
รูปปฏิเสธปัจจุบัน くない
良くない
よくないです
良くないです
くありません
良くありません
รูปอดีต かった
良かった
よかったです
良かったです
รูปปฏิเสธอดีต くなかった
良くなかった
よくなかったです
良くなかったです
くありませんでした
良くありませんでした
Na-Adj ที่ทำหน้าที่เป็นส่วนขยายประธาน (predicate)
พวกมันถูกเรียกว่า na-adj เพราะเราใช้คำช่วย "~な" เพื่อแสดงให้เห็นว่า adj ตัวนี้ทำหน้าที่ขยายคำนำโดยตรง(ที่วางไว้หน้าคำนาม) (ตัวอย่าง ゆうめいが か). และ na-adj ก็ไม่เหมือนกับ i-adj เพราะว่า na-adj ไม่สามารถถูกใช้เป็นส่วนขยายประธานโดยตรงได้ เมื่อต้องการใช้ na-adj เป็นส่วนขยายประธานจะต้องเปลี่ยน "な" เป็น "~だ" หรือ "~です (ในภาษาสุภาพ)". เช่นเดียวกันกับคำนาม, "~だ" หรือ "~です" จะเป็นตัวที่จะถูกผันให้เปลี่ยนรูปไปเป็น อดีต, ปฏิเสธ, และบอกเล่า. ลองดูตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจ
ภาษาไม่เป็นทางการ ภาษาสุภาพ
รูปบอกเล่าปัจจุบัน ゆうめい
有名だ
ゆうめいです
有名です
รูปปฏิเสธปัจจุบัน ゆうめいではない
有名ではない
ゆうめいではありません
有名ではありません
รูปอดีต ゆうめいだった
有名だった
ゆうめいでした
有名でした
รูปปฏิเสธอดีต ゆうめいではなかった
有名ではなかった
ゆうめいではありませんでした
arimasen deshita

有名ではありませんでした

คำกริยา-1

คำศัพท์ คันจิ คำแปล
べんきょうします 勉強します เรียน
よみます 読みます อ่าน
たべます 食べます กิน
みます 見ます ดู
のみます 飲みます ดื่ม
ききます 聞きます ฟัง
รูปแบบการใช้คำกริยา : N を Verb
N : คำนามที่ทำหน้าที่เป็น กรรม ที่ถูกคำกริยากระทำ
ตัวอย่างการใช้คำกริยา
  1. เรียนภาษาญี่ปุ่น
    にほんご を べんきょうします。
  2. กินข้าว
    ごはん を たべます。
  3. ดื่มนม
    ミルク を のみます。
  4. ดูทีวี
    テレビ を みます。
  5. ฟังวิทยุ
    ラジオ を ききます。
ลองนำมาแต่งประโยคโดยใส่ประธานและคำกริยาวิเศษเข้าไป
  1. ฉันเรียนภาษาญี่ปุ่นทุกวัน
    わたしは まいにち にほんご を べんきょうします。
  2. เขากินข้าวกับแฟน
    かれは こいびと と ごはん を たべます。
  3. แมวของฉันดื่มนม
    わたしのねこは ミルク を のみます。
  4. พี่ชายดูทีวี
    おにいちゃんは テレビ を みます。
  5. มิกะฟังวิทยุทุกเช้า
    みかちゃんは まいあさ ラジオ を ききます。
「ประโยคปฏิเสธ」
สำหรับคำกริยา ถ้าต้องการจะทำให้เป็นรูปปฎิเสธจะเปลี่ยนจากรูป ます  เป็นรูป ません เช่น
わたしは やさい を たべます  ฉันกินผัก
わたしは やさい を たべません ฉันไม่กินผัก
(わたしは) このさっしが あります。 (ฉัน)มีนิตยสารเล่มนี้
(わたしは) このさっしが ありません。 (ฉัน)ไม่มีนิตยสารเล่มนี้
เป็นต้น
「ประโยคบอกเล่าที่เป็นอดีต」
สำหรับคำกริยา ถ้าต้องการจะทำให้เป็นรูปปฎิเสธจะเปลี่ยนจากรูป ます  เป็นรูป ました เช่น
わたしは あした セントラルデパートで かいものします。 ฉันจะไปซื้อของที่ห้างเซนทรัลพรุ่งนี้ *
わたしは きのう セントラルデパートで かいものしまた。 ฉันไปซื้อของที่ห้างเซนทรัลมาเมื่อวานนี้
(*สำหรับรูป ますมันใช้ได้ทั้งปัจจุบันและอนาคตเลย)
และสำหรับ adverb of time เช่น あした きのう สามารถวางตำแหน่งอื่นก็ได้ (ซึ่งความหมายก็ยังแปลเหมือนเดิม)
เพราะภาษาญี่ปุ่นมันใช้คำช่วย ในการบอกหน้าที่ของคำนั้นๆอยู่แล้ว เช่น は ก็ใช้บอกประธาน
「สถานที่」 で  で ก็จะใช้บอกถึงสถานที่ ที่เกิดการกระทำนั้นขึ้น (ในที่นี้คือเกิดกริยาซื้อของ)
เป็นต้น
「ประโยคปฏิเสธที่เป็นอดีต」
เปลี่ยนจาก ます เป็น ませんでした
わたしは きのう かくこうへ いきませんでした。 เมื่อวานฉันไม่ได้ไปโรงเรียน *
わたしは おととい キティ を かいませんでした。เมื่อวานซืนไม่ได้ซื้อคิตตี้
 きょうは あきばで かいにいきます。 วันนี้ก็เลยจะไปซื้อที่อาคิบะ (อาคิฮาบาร่า) **
*へ เวลาเป็นคำช่วยจะ อ่านว่า เอ๊ะ แม้ว่าจะเขียนด้วยตัว เฮะ ก็ตาม
โดยจะใช้คู่กับ กริยา ไป いきます มา きます กลับ かえります
ตัวอย่างการใช้ へ
だいがくへ いきます。   จะไปที่มหาวิทยาลัย
(あなたは) いま ここへ きますか。 (คุณอ่ะ)จะมาที่นี่เหรอ
うちへ かえりきます。 กลับบ้าน
** かいに行きます。 เป็นกริยาซ้อน
かいます ซื้อ ตัด ます เติม に แล้วต่อด้วย いきます。
ก็จะแปลว่า ไป ซื้อ

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ตัวเลข เวลา และวันในสัปดาห์

ก่อนที่เราจะเรียนรู้ไวยากรณ์ หรือ คำกริยาต่างๆ ผมว่าเรามาเรียนรู้เรื่องตัวเลข เวลา และ วันในสัปดาห์กันก่อนดีกว่า เพราะการใช้งานจริง สิ่งที่เราใช้อาจไม่ตรงตามหลักไวยากรณ์ แต่สามารถสื่อสารให้เข้าใจง่ายๆได้ ฉะนั้นเราจำเป็นที่ต้องเรียนรู้ สิ่งเหล่านี้เป็นอันดับแรกๆ

漢字 – Kanji ひらがな – Hiragana Romaji
(English Letters)
English Meaning
いち ichi one
ni two
さん san three
し、 よん shi (yon after 10) four
go five
ろく roku six
しち、 なな shichi (nana after 10) seven
はち hachi eight
きゅう kyuu nine
じゅう juu ten
ひゃく hyaku hundred
ตัวเลขหลักจาก 10 ขึ้นไปก็เอา เลข 10 มาประกอบด้วย อันนี้ไม่ค่อยจะแตกต่างกับของไทยมากนัก
เช่น 11-じゅういち,12 – じゅうに, 13 -じゅうさん, 14 – じゅうよん, 20 – にじゅう 21-にじゅういち
Numbers after 10 are a piece of cake once you know 1 through 10. 11 is simply ten with a one after it, 十一 (じゅういち, juuichi), 12 – juuni, 13 – juusan, 14 – juuyon, etc. 20 is simply 二十 (にじゅう, nijuu), 21 – nijuuichi, and so forth.
เดือน
ในเรื่องของเวลา ก็นำหน้าด้วยเวลาและตามด้วย じ (時) แปลว่า โมง
ส่วนถ้ามีหน่วยของเวลาเป็นนาทีก็จะตามด้วย ふんหรือ ぷん (มี 2 ตัวแล้วแต่ว่าใช้กับตัวเลขอะไรอีกนะ)
Put these numbers in front of the character for time 時 and you’ve got the time of the day.
漢字 – Kanji ひらがな – Hiragana Romaji
(English Letters)
English Meaning
一時 いちじ ichiji one o’clock
二時 にじ niji two o’clock
二時半 にじはん nijihan two thirty (半 means half)
二時四十五分 にじよんじゅうごふん nijiyonjuugofun 2:45 (分 means minute)
…etc.
ตัวอย่างประโยค (ใช้ฝึกอ่านออกเสียง เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับรูปประโยค)
1. いま 2じ5ふん
4じはん
です。
なんじ ですか。
2. ひるやすみは 12じ
12じはん
から 1じ
1じ15ふん
までです。
なんじ なんじ までですか。
3. ともだちのやすみは げつようび
どようびと にちようび
です。
なんようび ですか。
4. わたしは 8じはん
あさ
げつようび
から 5じ
ばん
きんようび
まで はたらきます。
5. わたしは まいあさ  6じ 
 7じはん
に おきます。
あなたは 。。。。。  なんじ に おきますか。
6. わたしは まいにち
あした
べんきょうします。
きのう
おととい
べんきょうしました。
กริยารูป ます ปัจจุบัน รูป ました
7.  ね
 やすみ
 はたらき
ます
ます
ます
 ね
 やすみ
 はたらき
ません
ません
ません
 ね
 やすみ
 はたらき
ました
ました
ました
 ね
 やすみ
 はたらき
ませんでした
ませんでした
ませんでした
ความหมายของรูปประโยค
いま なんじ ですか。 ตอนนี้ กี่โมง
いま 2じ5ふん です。 ตอนนี้ 2 โมง 5 นาที
いま 4じはん です。 ตอนนี้ 4 โมงครึ่ง
-から ตั้งแต่ -まで ถึง (จะใช้พร้อมกัน หรือ แยกกันก็ได้)
ひるやすみは なんじから なんじまで ですか。 พักเที่ยง ตั้งแต่กี่โมง ถึงกี่โมง
เดือน
สำหรับเดือน 1-12 จะใช้ตัว 月 ต่อท้ายตัวเลข (ตัวคันจินี้มีความหมายถึงพระจันทร์และเอามาใช้เป็นเดือน)
ถ้าจะถามผมว่าทำไมต้องเป็นตัวพระจันทร์ ผมเดาว่าคงจะอาศัยจันทรคติแบบไทยๆหละมั้ง “ข้างขึ้น” “ข้างแรม” อะไรทำนองนั้น
ญี่ปุ่นเขาไม่ใช้ January , February หรือ มกรา กุมภา แบบไทยหรือเทศ มันใช้เป็น เดือน 1 2 3 4 เลย ก็ง่ายดี

漢字 – Kanji ひらがな – Hiragana Romaji
(English Letters)
English Meaning
一月 いちがつ ichigatsu January
二月 にがつ nigatsu February
三月 さんがつ sangatsu March
四月 しがつ shigatsu April
…etc.

สำหรับวันในสัปดาห์ของญี่ปุ่นจะไม่มีรูปแบบง่ายๆเหมือนก่อนหน้านี้ ก็ต้องจำเป็นคำๆไป
แต่ละวันก็จะมีอักษรคันจิ ที่แสดงถึงธรรมชาติ ถ้าใครเคยดูการ์ตูนเรื่อง sailor moonจะจำได้โดยง่าย อิอิ
วันอาทิตย์ ใช้ดวงอาทิตย์ にち 日
วันจันทร์กใช้ดวงจันทร์ げつ 月
วันอังคารใช้ไฟ か 火
วันพุธ ใช้ น้ำ すい 水
วันพฤหัส ต้นไม้ もく 木
วันศุกร์ ทอง きん 金
วันเสาร์ ดิน ど 土
และควรเรียนรู้คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับเวลา อื่นๆเช่น วันนี้ พรุ่งนี้ เมื่อเช้า etc. (ดูตามตาราง)

漢字 – Kanji ひらがな – Hiragana Romaji
(English Letters)
English Meaning
日曜日 にちようび nichiyoubi Sunday (日 – sun/day)
月曜日 げつようび getsuyoubi Monday (月 – moon)
火曜日 かようび kayoubi Tuesday (火 – fire)
水曜日 すいようび suiyoubi Wednesday (水 – water)
木曜日 もくようび mokuyoubi Thursday (木 – tree/wood)
金曜日 きんようび kinyoubi Friday (金 – gold)
土曜日 どようび doyoubi Saturday (土 – dirt)
今日 きょう kyou Today
明日 あした ashita Tomorrow
昨日 きのう kinou Yesterday
一昨日 おととい ototoi the day before yesterday
明後日 あさって asatte the day after tomorrow (a small “tsu” (っ) makes a double consonant)
今朝 けさ kesa this morning
今晩 こんばん konban this evening
いま ima now
ตัวอย่างประโยค
  • このゲームは いくらですか。
    - このゲームは 12000円 です。
  • シャツと パンツ。
  • このシューズを ください。
  • みきちゃんの けいたいばんごうは なんばんですか。
    - 548-2543 です。
  • ともだちは おいくつですか
    -24さいです。

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 1 A は B です。

อธิบายโครงสร้างไวยากรณ์
1.) A は B です。 ใช้เพื่อบอกว่า A เป็น B
A,B   : คำนาม หรือ คำสรรพนาม
は   : (เขียนด้วยตัว ฮะ แต่อ่านว่า วะ) เป็นคำช่วย ที่ใช้แสดงว่าสิ่งที่อยู่ข้างหน้า วะ เป็นประธาน
です  : ถ้าประโยคลงท้ายด้วยคำนาม หรือ คำคุณศัพท์ จะลงท้ายด้วยคำนี้ ถ้าเป็นคำกริยาก็จะลงด้วย ます。
ใช้สำหรับประโยคสุภาพ ภาษาไทย จะแปลว่า ครับ/ค่ะ
2.) A は B では ありません。 หรือ Aは Bじゃ ありません。
ใช้เพื่อบอกว่า A ไม่ได้เป็น/ไม่ใช่ B
では ありません。 : เป็นรูปปฎิเสธของ です。 นั่นเอง
หรือใช้ じゃ ありません。 ก็ได้ มันจะออกแนวภาษาพูด
3.) ประโยคคำถามในภาษาญี่ปุ่นจะลงท้ายด้วย か。 (ยกเสียงสูง ก๊ะ)
เราสามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบคือ
  
  3.1) Aは (ปุจฉาสรรพนาม)ですか。
  ประโยคที่ใช้คำ ปุจฉาสรรพนาม (WH Question words) 
  ปุจฉาสรรพนาม : อะไร เมื่อไหร่ ใคร ทำไม อย่างไร เป็นต้น

  ตัวอย่าง

  あのかたは どなたですか。  ท่านนั้นคือใคร
  トイレは どこですか。  ห้องน้ำอยู่ไหน
  ดู Question words เพิ่มเติม

  3.2) A は Bですか。
  ประโยคใช่หรือไม่ใช่     A คือ B ใช่หรือเปล่า
  ตัวอย่าง

  あのひとは YUI ですか。
  - คนนั้นคือยูอิหรือเปล่า
  はい, あのひとは YUI です。
  - ครับ คนนั้นแหละยูอิ

  3.3)  Aは Bですか、 Cですか。
  A คือ B หรือ C

  ตัวอย่าง

  あのひとは はるなちゃんですか、 ともみちゃんですか。
  - คนนั้นคือ ฮารุนะจัง หรือ โทโมมิจัง
  あのひとは ともみちゃんです。
  - คนนั้นหนะ โทโมมิจัง
4.) AはBです。CもBです。
も เป็นคำช่วยในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า “ก็” หรือ “ด้วย”
ใช้อธิบายว่าประโยคที่พูดถึง ก็เป็นเหมือนกับประโยคก่อนหน้า
ヒッキ- かしゅです。ฮิกกี้เป็นนักร้อง
YUI  かしゅです。 ยูอิ ก็ เป็นนักร้อง
** ヒッキ- : 宇多田.ヒカル (อุทาดะ ฮิคารุ)
ในกรณีที่คำถามใช้คำช่วย も เช่น
ビル・ゲイツ かしゅですか
บิลเกต ก็ นักร้องใช่ไหม
いいえ、ビル・ゲイツ かしゅでは ありません
ไม่ครับ บิลเกตไม่ได้เป็น นักร้อง
* เนื่องจากเราตอบปฏิเสธ ก็เลยไม่ต้องใส่ も (เพราะถ้าใส่ も มันจะแปลว่า ก็ หมายถึงความหมายมันจะกลายเป็นสอดคล้องกัน)
………………
かいわ1
エリン : はじめまして。わたしは エリンです。どうぞ よろしく。
きむら : きむらです。こちらこそ どうぞ よろしく。エリンさんは アメリカ人ですか。
エリン : いいえ、わたしは アメリカ人ではありません。イギリス人です。
きむら : そうですか。 エリンさんは がくせいですか。
エリン : はい、そうです。

บทสนทนา 1
เอริน : ยินดีที่ได้รู้จัก ฉันเอริน ฝากเนื้อฝากตัวด้วย
คิมูระ : คิมูระครับ。ทางนี้ก็ฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับ
เอรินเป็นคนอเมริกาหรือเปล่าครับ
เอริน : ไม่ค่ะ ฉันไม่ได้เป็นคนอเมริกา เป็นคนอังกฤษค่ะ
คิมูระ : อ่อ ครับ เอรินเป็นนักเรียน(นักศึกษา)หรือเปล่าครับ
เอริน : คะ ใช่คะ
………………
かいわ2
マリー : こんにちは。マリーです。どうぞ よろしくおねがいします。
りょう : りょうです。どうぞ よろしく。
マリーさんは イギリス人ですか、アメリカ人ですか。
マリー : イギリス人です。
りょう : そうですか。 「マリー」は みょうじですか。
マリー : いいえ、みょうじではありません。 なまえです。 「ましろ」は なまえですか、みょうじですか。
りょう : 「りょう」は みょうじです。

บทสนทนา 2
แมรี่ : สวัสดีค่ะ แมรี่ค่ะ ฝากเนื้อฝากตัวด้วยค่ะ
เรียว : เรียวครับ ฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับ
คุณแมรี่เป็นคนอังกฤษหรือคนอเมริกาครับ
แมรี่ : เป็นคนอังกฤษค่ะ
เรียว : อ่อครับ 「มารี」 นี่เป็นนามสกุลหรือเปล่าครับ
เอริน : ไม่ใช่ค่ะ เป็นชื่อค่ะ 「เรียว」 นี่เป็นชื่อหรือนามสกุลคะ?
เรียว : 「เรียว」 คือนามสกุลครับ。
 

วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เรียนภาษาญี่ปุ่นกันเถอะ 「日本語 を 勉強しましょう。

สำหรับผู้ที่พึ่งจะเริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่น เริ่มแรกเราควรจะทำความรู้จักกับตัวอักษรในภาษาญี่ปุ่นกันก่อน
ซึ่งตัวอักษรที่ใช้ในภาษาญี่ปุ่นจะแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่
  1. ฮิรางานะ (hiragana) คือ ตัวอักษรที่ใช้ทั่วไปในญี่ปุ่น
    เช่น ねこ (neko) , いぬ (inu)
  2. คาตาคานะ (katakana) คือ ตัวอักษรที่ญี่ปุ่นนำมาใช้ แทนคำศัพท์ที่มาจากภาษาต่างประเทศ หรือ บางครั้งก็เอาไว้เน้นคำให้เก๋ๆ
    เช่น ダメ (dame) 、スゴイ (sugoi)
  3. คันจิ (kanji) คือ ตัวอักษรภาษาจีนที่ ญี่ปุ่นนำมาใช้ในระบบของภาษาญี่ปุ่น เนื่องจากคำพ้องเสียงในภาษาญี่ปุ่นมีค่อนข้างเยอะ
    โดยมากก็เลยมักใช้คันจิเขียน คันจิบางตัวก็จะมีความหมายเหมือนกับตัวอักษรในภาษาจีน บางตัวก็คล้ายๆหรือใกล้เคียง
    แต่บางตัวไม่เหมือนเลย ซึ่งตัวคันจินี้ถูกใช้มาตั้งแต่สมัยอดีต (ก่อน พศ.600 ในยุคของราชวงศ์ฮั่น ก็มีการใช้อักษรจีนโบราณแล้ว )
  4. โรมันจิ (romanji) คือ อักษรภาษาอังกฤษที่ใช้แทนคำอ่านเสียงของภาษาญี่ปุ่น (คล้ายๆที่ พินอิน ของภาษาจีน)
ฮิรางานะ (ひらがな)

วรรค อะ あ(อะ) い(อิ) う(อุ) え(เอะ) お(โอะ)
วรรค คะ か(คะ) き(คิ) く(คุ) け(เคะ) こ(โคะ)
วรรค ซะ さ(ซะ) し(ชิ) す(ซุ) せ(เซะ) そ(โซะ)
วรรค ทะ た(ทะ) ち(จิ) つ(ทซึ) て(เทะ) と(โทะ)
วรรค นะ な(นะ) に(นิ) ぬ(นุ) ね(เนะ) の(โนะ)
วรรค ฮะ は(ฮะ) ひ(ฮิ) ふ(ฟุ) へ(เฮะ) ほ(โฮะ)
วรรค มะ ま(มะ) み(มิ) む(มุ) め(เมะ) も(โมะ)
วรรค ยะ や(ยะ)
ゆ(ยุ)
よ(โยะ)
วรรค ระ ら(ระ) り(ริ) る(รุ) れ(เระ) ろ(โระ)

わ(วะ) を(โอะ) ん(อึน)


คะตะกะนะ (かたかな)

วรรค อะ ア(อะ) イ(อิ) ウ(อุ) エ(เอะ) オ(โอะ)
วรรค คะ カ(คะ) キ(คิ) ク(คุ) ケ(เคะ) コ(โคะ)
วรรค ซะ サ(ซะ) シ(ชิ) ス(ซุ) セ(เซะ) ソ(โซะ)
วรรค ตะ タ(ตะ) チ(จิ) ツ(ทซุ) テ(เตะ) ト(โตะ)
วรรค นะ ナ(นะ) ニ(นิ) ヌ(นุ) ネ(เนะ) ノ(โนะ)
วรรค ฮะ ハ(ฮะ) ヒ(ฮิ) フ(ฟุ) ヘ(เฮะ) ホ(โฮะ)
วรรค มะ マ(มะ) ミ(มิ) ム(มุ) メ(เมะ) モ(โมะ)
วรรค ยะ ヤ(ยะ)
ユ(ยุ)
ヨ(โยะ)
วรรค ระ ラ(ระ) リ(ริ) ル(รุ) レ(เระ) ロ(โระ)

ワ(วะ) ヲ(โอะ) ン(อึง หรือ อุง)